ก้าวที่กล้า….ของครูรัก ศรัทธา ศรัทธาทิพย์

บอกเล่าประสบการณ์ ทำไมไม่ส่งลูกเรียนโรงเรียนในระบบ


ด้วยการจัดการศึกษาในระบบ ที่ผู้ปกครองหลายคนมีแนวคิดว่าเป็นการจัดการศึกษาที่ไม่ตอบโจทย์ในเรื่องของพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กที่ต้องเป็นไปตามวัย เป็นการจัดการศึกษาแบบเหมารวม ที่มุ่งในเรื่องวิชาการมากเกินไป มุ่งแข่งขันเพื่อให้ได้อยู่ในโรงเรียนดัง ๆ โดยไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนามนุษย์ให้ได้ถึงส่วนลึกที่สุดของจิตใจ และกอปรกับสภาพสังคมที่แข่งขันกันสูงในทุกด้าน พ่อแม่ผู้ปกครองหลายท่านจึงมีแนวคิดอยากหาทางเลือกที่จะจัดการศึกษาให้กับลูกของตนเองหรือไม่ก็ส่งลูกให้ไปเรียนกับโรงเรียนทางเลือกที่จัดการเรียนการสอนที่มุ่งสร้างพัฒนาการการเรียนรู้ให้เด็ก ๆ ที่เหมาะสมกับวัยของเขา รวมทั้งมุ่งเน้นให้เด็ก ๆ เรียนรู้ไปในสภาพแวดล้อมที่ดี มีการเรียนรู้จากธรรมชาติ และสร้างความแข็งแกร่งให้กับจิตใจเป็นหลัก องค์กรชุมชนและองค์กรเอกชนหลายแห่งจึงได้จัดการศึกษาแบบทางเลือกขึ้นตามแนวทางของตนเอง และก็มีหลายแนวทางที่ผู้ปกครองเห็นว่าดีเหมาะสมกับบุตรหลานของตนเอง
 

 

คำอธิบาย: F:\งานตัดต่อครูรักษ์\ครูรัก2.jpg


อย่างที่สองก็คือว่าเห็นลูกของเพื่อนบ้านที่เขาไปติวเพื่อที่จะสอบเข้า ป
.1โรงเรียนสาธิต ที่มีชื่อเสียง แล้วเห็นในความกดดันของพ่อแม่ ซึ่งบางทีเขาก็ไม่ได้ตั้งใจที่จะไปกดดันลูก แต่เขาต้องให้ไปติวไปเรียนพิเศษเพื่อการสอบเข้าโรงเรียนดัง ๆ   ผมรู้สึกว่ามันเกินไป สำหรับวัยนี้ ที่จะต้องมาแข่งขัน ที่จะต้องเป็นความหวังของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครอบครัว  ซึ่งพ่อแม่ก็ไม่รู้ตัวหรอกว่าตนเองกำลังผลักดันลูก กำลังกดดันเขา  เขาต้องผิดหวัง เสียใจ รู้สึก ถึงแม้เขาจะเป็นเด็กแต่เขารู้สึก และผมคิดว่าความรู้สึกแบบนี้มันยังไม่ควรเกิดกับเด็กวัยนี้ เด็กวัยนี้ควรที่ทำอะไรที่สมกับวัยของเขา


พอเขาสอบไม่ได้ เขาไปเข้าโรงเรียนปกติตามระบบหรือว่าเป็นโรงเรียนเอกชน  ซึ่งพอเขาขึ้นป
1 2 ปรากฏว่าเขาต้องใช้กระเป๋าที่มีล้อเลื่อนแล้วลาก หนังสือเยอะการบ้านก็เยอะ ผมเห็นผมก็รู้สึกตอนผมเป็นเด็กไม่เห็นต้องมากมายขนาดนี้ แทนที่เด็กๆจะได้ออกมาเล่นสนุกตามวัย  มีสังคมกับเด็กอื่น ๆ เฮฮากัน   ก็เลยคิดว่ามันถูกกระแสความนิยมที่ต้องเรียนแบบนี้  จะต้องรู้เยอะขนาดนี้ ต้องเสริมเรียนพิเศษ ทั้งเรื่องของภาษา เรื่องของเลข นอกจากที่อยู่ในชั้นเรียนตามปกติ  เหมือนพ่อแม่พยายามอัดสิ่งต่าง ๆเข้าไปให้ลูก ทั้งที่ลูกยังอยู่ในวัยไม่ถึง 8 ขวบ  ก็เลยคิดว่ามันไม่น่าจะโอเคกับลูกเรา

 
จนมีรุ่นน้องคนหนึ่งเป็นศิลปินชื่อแมว จิระศักดิ์ ปานพุ่ม  คือลูกเราอายุเท่ากัน เขาก็โทรมาบอกว่า เดี๋ยวเขาจะเอาลูกมาเข้าที่โรงเรียนปัญโญทัย ซึ่งเป็นโรงเรียนทางเลือกแนวทาง waldorf  ผมก็เลยไปหาข้อมูลว่า   มันดียังไง มันมีแนวทางในการปฏิบัติในการสอนยังไง ที่มันจะ เป็นประโยชน์กับลูกเราให้มากที่สุด   พอได้ข้อมูลเบื้องต้นได้พาลูกเข้าไปสมัคร แล้วก็ได้ไปพูดคุยเกี่ยวกับ เรื่องแนวทางกับเจ้าหน้าที่ของทางโรงเรียน แล้วก็ไปซื้อหนังสือจากโรงเรียน กลับมาอ่านศึกษาดูว่าแนวทางแบบนี้เขาทำเพื่ออะไร ทำไมมันคือเหตุผลอะไร ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลทางกายภาพเกี่ยวกับการพัฒนาทางกายของเด็ก  แล้วก็เป็นเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องของความคิด การพัฒนาทางสมอง จุดเริ่มมาจากจุดนั้น พอมาศึกษาแล้วก็มีความคิดว่าน่าสนใจ  แล้วทางเลือกแบบนี้ไม่ใช่กระแสที่เพิ่งเกิดเพราะว่า  ปีนี้วอลดอร์ฟจะครบ 100 ปีละ เป็นแนวทางที่อยู่มานาน และได้ถูกพัฒนาให้เข้ากับยุคให้เข้ากับสมัย  พอดูแล้วก็เลย โอเค คุยกันว่าเราจะเอาลูกเข้าโรงเรียนทางเลือก

 

 

 



(ติดตามประสบการณ์ การตัดสินใจส่งลูกเรียนโรงเรียนทางเลือกแนววอลดอร์ฟ
Waldorf ของครูรัก  ใน EP2.  ทำไมจึงให้ลูกเรียนโรงเรียนวอลดอร์ฟ Waldorf ที่นี่ เร็ว ๆนี้)