โครงการ Children in Street รวมพลคนทำงานเพื่อเด็กบนท้องถนนในกทม.

พัฒนาสมรรถนะที่จำเป็น และร่วมหาแนวทางจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก

 


ระหว่างวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา นายกุลธร เลิศสุริยะกุล หัวหน้าคณะทำงานโครงการพัฒนาระบบการช่วยเหลือและส่งเสริมการเรียนรู้ สำหรับกลุ่มเด็กบนท้องถนน (
Children in Street) ในเขตกรุงเทพมหานครเป็นประธานในการอบรมพัฒนาศักยภาพครู และคนทำงานกับเด็กบนท้องถนน ตามแนวทางการพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็น โดยครอบคลุมเนื้อหาที่ได้จากการประชุมปฏิบัติการพิจารณาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับครูข้างถนนและคนทำงานกับเด็กบนท้องถนน ณ โรงแรมอยุธยา แกรนด์ โฮเต็ล  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นครูและคนทำงานกับเด็กบนท้องจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งเอ็นจีโอ  และหน่วยงานของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร อาทิ กศน.กทม , สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร ,มูลนิธิสายเด็ก 1387 , มูลนิธิบ้านนกขมิ้น ,มูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล(เมอร์ซี่),มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก, จำนวนกว่า 50 คน

 

 นายกุลธร เลิศสุริยะกุล หัวหน้าคณะทำงานโครงการ Children in Streetในเขตกรุงเทพมหานคร 

 
 
สำหรับการจัดประชุมปฏิบัติการในครั้งนี้เพื่อพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับครูข้างถนนและคนทำงานกับเด็กบนท้องถนน ให้เข้าใจสถานะการณ์เด็กบนท้องถนนในเขตกรุงเทพมหานคร เข้าใจบทบาทและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับครูและคนทำงานกับเด็กบนท้องถนนเพื่อนำมาใช้พัฒนาการทำงานของตนเอง
 
โดยมีการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ปรับกระบวนทัศน์ และกระบวนการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูข้างถนนและคนทำงานกับเด็กบนท้องถนนเพื่อให้การทำงานในระบบเครือข่ายเป็นไปด้วยความราบรื่นมากยิ่งขึ้น

 
กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  รวมกลุ่มเรียนรู้ “สกัดสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับคนทำงานจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กกลุ่มนี้
มีการจัดกิจกรรม “ปั้นหุ่นนวัตกร” เพื่อทำงานให้สำเร็จในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และนำเสนอต่อกลุ่มใหญ่เพื่อหาสมรรถนะที่จำเป็น โดยมี รศ.ดร.ชูเกียรติ  ลีสุวรรณ์ ให้เกียรติเป็นวิทยากรนำผู้ร่วมกิจกรรมวิเคราะห์ว่าสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับคนทำงานกับเด็กบนท้องถนนควรเป็นอย่างไร
 

 

 
กิจกรรม Children in Street (CIS)- Who are you & where you are วิเคราะห์ เจาะลึก ผ่านประสบการณ์ที่หลากหลาย จากคนทำงานที่แตกต่าง ทั้งผู้ที่มีประสบการณ์ และผู้ที่มาเริ่มงานใหม่รวมสองกลุ่ม โดยมีอาจารย์เกื้อ แก้วเกตุ ประธานคณะทำงานด้านเด็ก และ คณะเป็นวิทยากรในกิจกรรมนี้

 

 

- Body Paint เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องCIS ในสถานการณ์ปัจจุบัน ผ่านประสบการณ์จริงหรือความเข้าใจของผู้เข้าอบรม  ให้ได้รู้ว่าเด็กบนท้องถนนคือใคร มีลักษณะเป็นอย่างไร

 

 

- CIS Mapping เพื่อแบ่งปันประสบการณ์จริงในเขตกรุงเทพมหานครว่ามีพื้นที่ไหนบ้างที่มีเด็กเร่ร่อนบนท้องถนนอยู่

 

  

รศ.ดร.สุวิธิดา  จรุงเกียรติกุล นำเสนอแบบบันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคล เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมได้ทดลองกรอกและร่วมกันพิจารณาเสนอความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงและพัฒนาแบบบันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคลให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อเป็นข้อมูลให้ความช่วยเหลือเด็กต่อไป

 

 

การพัฒนารูปแบบ วิธีการและเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาหรับเด็กและเยาวชนบนท้องถนน

ทิศทางการพัฒนาเด็กและเยาวชนในปัจจุบันการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้โลกของกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็ก

 

 

กิจกรรมแลกเปลี่ยน แบ่งปัน เพิ่มเติมแนวคิด วิธีการ และเทคนิคการทางานกับเด็กและเยาวชนบนท้องถนนโดยเกียรติจากครูจิ๋ว นางสาวทองพูล  บัวศรี ผู้จัดการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ,ครูนาง นางสาวนริศราภรณ์ อสิพงษ์ หัวหน้าแผนกครูข้างถนนมูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล(เมอร์ซี่),ครูเชาว์ นายเชาวลิต  สาดสมัย  นักพัฒนาสังคม ศูนย์สร้างโอกาสเด็กพระราม8 เป็นผู้นำการแลกเปลี่ยน แบ่งปัน แนวคิดและวิธีการทำงานกับเด็กบนท้องถนน โดยมี รศ.ดร.สุวิธิดา  จรุงเกียรติกุล เป็นผู้ดำเนินรายการ

 

ครูจิ๋ว นางสาวทองพูล  บัวศรี ผู้จัดการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็

ครูนาง นางสาวนริศราภรณ์ อสิพงษ์ หัวหน้าแผนกครูข้างถนนมูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล(เมอร์ซี่)

 

ครูเชาว์ นายเชาวลิต  สาดสมัย  นักพัฒนาสังคม ศูนย์สร้างโอกาสเด็กพระราม8

 
การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กบนท้องถนน โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ปาน กิมปี นักวิจัยโครงการฯ เป็นวิทยากร บรรยายสรุป และนำเสนอบทเรียนที่ได้จากกลุ่มเรียนรู้ บทเรียนจากวิทยากรและคณะวิจัยนำเสนอบทเรียนจากการอบรมฯ   กิจกรรม “มองไปข้างหน้า ปัญหา อุปสรรค และสิ่งที่คาดหมายและความคาดหวังที่อยากจะทำในอนาคต”

 

 
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ทางโครงการจะนำข้อมูล แนวทางต่าง ๆ ที่ได้จากผู้เข้าร่วมประชุมมาประมวลและสรุปเป็นแนวทางและเนื้อหาการพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับครูข้างถนนและคนทำงานกับเด็กบนท้องถนนต่อไป   ซึ่งครูข้างถนนและคนทำงานกับเด็กบนท้องถนนในเขตกรุงเทพมหานครทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการพัฒนาศักยภาพเพิ่มขึ้น มีความรู้ความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับสถานะการณ์เด็กบนท้องถนนมากยิ่งขึ้นนอกจากนั้นทางโครงการฯยังได้ฐานข้อมูลของครูข้างถนนและคนทำงานกับเด็กบนท้องถนนในเขตกรุงเทพมหานครว่ามีจำนวนมากน้อยเท่าไร มีใครบ้างและสังกัดหน่วยงานไหนบ้าง รวมทั้งได้มีการสร้างกลุ่ม LINE คนทำงาน Children in Street” และเว็บไซต์ www.childreninstreetthailand.com เพื่อช่องทางการติดต่อสื่อสาร แลกเปลื่ยนข้อมูล สาระความรู้ หรือประสานการทำงาน ระหว่างคนทำงานกับเด็กบนท้องถนนในเขตกรุงเทพมหานคร อีกด้วย

กลุ่มLINE “คนทำงาน Children in Street”

  

สื่อมวลชนสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คุณพิสิษฐ์  087-055-2756          

สมาคมสถาบันส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต