จิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับเด็กบนท้องถนน (1)

 

 


เมื่อวันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา โครงการพัฒนาระบบการช่วยเหลือและส่งเสริมการเรียนรู้ สำหรับกลุ่มเด็กบนท้องถนน (
Children in Street) ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้จัดให้มีการประชุมปฎิบัติการ“พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กบนท้องถนนเป็นรายบุคคล”  ณ โรงแรมคูณ จังหวัดสมุทรปราการเพื่อระดมความคิดจากครูกศน. จากสนง.กศน.กทม.และคณะทำงานกับเด็กบนท้องถนนจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งเอ็นจีโอ  และหน่วยงานของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร   การประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก .ดร สมพงษ์  จิตระดับ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมการประชุมในหัวข้อ “จิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับเด็กบนท้องถนน” ซึ่งเป็นเนื้อหาองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อครูกศน.และบุคลากรที่ทำงานกับเด็กเร่ร่อนเป็นอย่างมาก ซึ่งทางทีมงานได้สรุปเนื้อหาสาระไว้ในบทความนี้


.ดร สมพงษ์  จิตระดับ ได้กล่าวว่า สำหรับเนื้อหาในการบรรยายเกี่ยวกับ “จิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับเด็กบนท้องถนน” ในครั้งนี้ จะแบ่งเป็นหัวข้อใหญ่ 4 หัวข้อ ได้แก่

1.    Sub-Culture of children in street 

2.    General Comment 21

3.    Capability Approach - Amartya Sen

4.    24 character strengths

 

Sub-Culture of children in street


วัฒนธรรมของเด็กเร่ร่อน จะเป็นลักษณะการรวมกลุ่มกัน เกิดเป็นกลุ่มก้อน เกิดเป็นแกงค์ เป็นต้น ซึ่งเวลาที่เด็กต้องออกไปเผชิญสังคมภายนอก ซึ่งจะเต็มไปด้วยปัญหา การเอารัดเอาเปรียบ การรังแก การถูกบลูลี่ หรือการถูกสายตาที่เหยียดหยาม เพราะฉะนั้นการรวมกลุ่มกันคือการอยู่รอด
 เพื่อการต่อสู้และการป้องกันกลุ่มของตนเอง และถ้ามีเด็กเร่ร่อนที่เป็นผู้หญิงเด็กผู้ชายก็จะทำตัวเป็นผู้ปกป้อง  เพราะฉะนั้นตัวที่ทำให้เกิดวัฒนธรรมย่อยตรงนี้ จะทำให้เราเข้าใจตัวเด็กเร่ร่อนมากยิ่งขึ้น  ตัวอย่างวิธีการทำงานของครูจิ๋ว ซึ่งสามารถทะลุถึงใจของเด็กได้ ทำให้เด็กเชื่อใจครู เขาจะซื้อใจครูว่า ครูจะมาอยู่กับเขาชั่วครั้งชั่วคราว หรือครูจะมาช่วยเหลือเขาจริง ๆ

 ผมเคยนำนิสิตจุฬาลงไปทำงานกับเด็กเร่ร่อน กำลังสอนและเด็กนอนตัวมอมแมมเลยนะ เด็กถามครู ว่าครูหิวน้ำมั้ย ครูก็บอกว่าหิวเหมือนกัน เด็กเร่ร่อนเลยออกไปหาน้ำให้ดื่มไปประมาณ ครึ่งชั่วโมงเด็กก็กลับมาพร้อมกับมะพร้าว ลูก มะพร้าวลูกหนึ่งเด็กดื่มกันเอง อีกลูกหนึ่งเด็กนำมาให้ครูแต่มะพร้าวลูกนั้นมันดำไปด้วยขี้มือของเด็ก  เด็กก็มองที่ครูว่าจะดื่มหรือไป ซึ่งเป็นวิธีวัดใจครูของเด็ก ๆ นิสิตเขาบอกว่าในใจจริงแทบกินไม่ลงแต่ก็ต้องกลั้นใจกิน ทำให้ซื้อใจเด็กได้ ซึ่งภายหลังทำให้การพูดคุยกับเด็กเป็นไปอย่างง่ายขึ้น”  มันมีกระบวนการพวกนี้ที่แฝงอยู่ เราต้องเข้าใจวัฒนธรรมของเด็กเร่ร่อนสักนิดว่า แรก ๆ เราไปคุยกับเด็กเร่ร่อนเขาจะไม่ไว้ใจเราหรอก เด็กจะโกหก และจะพูดข้อมูลไม่จริงให้คุณฟังจนกว่าเขาจะไว้ใจคุณ สัมผัสคุณ และรักคุณถึงจะทำงานต่อไปได้


เพราะฉะนั้นภาพจำของเด็กบนท้องถนนในตอน 
10 ปีที่แล้ว ครูจะเป็นคนที่สำคัญที่สุดในชีวิตเด็ก   ครูจะมีนิยามและความหมายในความคิดของเด็กที่สูงส่ง    ในอดีตเราจะเห็นภาพเด็กบนท้องถนน ในรูปลักษณะที่มีฟันเหลือง ผมแดง ผิวขรุขระมอมแมม ตัวกลิ่นเหม็น ดมกาว นอนอยู่ตามคอสะพาน ตามตลาด ตามที่สาธารณะ   มีเสื้อผ้าชุดเดียว กระดำกระด่าง  หากินตามกองขยะ  สิ่งที่เราค้นพบอีกอย่างคือสิ่งที่เด็กเหล่านี้ชอบที่สุดคือชอบความอิสระ มีเสรีภาพ จะไปไหนก็ได้ตามที่เขาคิด และถ้ามีครูเป็นเพื่อน เขาจะมีความรู้สึกอุ่นใจ

ปัจจุบัน มิติของเด็กเร่ร่อนเปลี่ยนไปโดยที่เราไม่รู้เลยว่า ทำไมอยู่ดี ๆ  เด็กถึงหายจากถนน  จะสังเกตุได้ว่าเดี๋ยวนี้เราจะไม่ค่อยเห็นเด็กเร่ร่อนอยู่ตามถนน ตามตลาดหรือตามที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ  แต่จะเห็นไปอยู่ในครอบครัว ไปอยู่กับชุมชน เราเรียกว่าเป็นความผูกพันกับถนนที่แน่นแฟ้น มีความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจมากขึ้น แต่ไม่ใช่เชิงหนี เชิงอิสระแต่ว่ามีมิติที่น่าสนใจมากขึ้น 
  
ตัววัฒนะธรรมย่อยตรงนี้จะเห็นความเป็นกลุ่มก้อน เห็นภาษาที่เขาใช้ และสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่ามันจะสร้างระบบที่เขาเรียกว่าต่อต้านสังคม ป้องกันตนเอง สังคมในกลุ่มเล็ก ๆ ของเขา จะมีการเลือกใครจะเป็นหัวหน้ากลุ่ม ใครจะเป็นคนปกป้อง ใครจะทำหน้าที่อะไรกันบ้าง ผู้หญิงต้องทำอะไร ผู้ชายต้องทำอะไร กลุ่มจะขยับไปเป็นกลุ่ม สังเกตุว่าเราจะไม่ค่อยเจอเด็กเร่ร่อนเดินเดี่ยว เวลาที่กลุ่มเด็กเร่ร่อเจอเด็กเร่ร่อนที่เดินเดี่ยว ที่หัวลำโพง เขาจะดึงเข้าไปในกลุ่มทันที

ลักษณะเฉพาะของกลุ่มเด็กบนท้องถนน 

ระดับที่ 1 เด็กที่ใช้ชีวิตบนท้องถนนเพราะความยากจนหรือเคลื่อนย้ายถิ่นฐานตามครอบครัวจากชนบทสู่เมือง  ฤดูกาลนี้ในปีนี้จะมากขึ้น เนื่องจากมีความแล้งในชนบท และเด็กคนไร้บ้าน คนเร่ร่อน เด็กเร่ร่อนจะมากขึ้น  เพราะว่าความยากจนเป็นปัญหาพื้นฐาน สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความเลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจประมาณ เกือบ 30 เท่า เลื่อมล้ำทางการศึกษา 20 เท่า  ตรงนี้จะฉีกสังคมไทยออกจากกัน เป็นสังคมคนมี กับสังคมคนจน และดึงคนยากคนจนออกมา ซึ่งจะฉีกสังคมอย่างรุนแรง  ครอบครัวจะเป็นหน่วยที่โดนกระทำมากที่สุด ครอบครัวแหว่งกลาง ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ครอบครัวแบบต่าง ๆ  และเด็กเร่ร่อนก็จะเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่โดนเรื่องของความยากจน และความรุนแรง ความไม่ได้รับความเป็นธรรม เด็กก็จะกระเด็นออกจากระบบหน่วยย่อยของครอบครัว ปัญหาเรื่องความรุนแรง เรื่องความไม่เป็นธรรม รักลูกไม่เท่ากัน ปัญหาจากระบบโรงเรียน จะทำให้เด็กพวกนี้ก็จะมีปัญหาเชิงพฤติกรรม ทำให้เด็กถูกบีบออก  ในชุมชนก็มองว่าเด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กเหลือขอ เด็กก็เลยออกมาเร่ร่อน ถ้าเด็กไม่เจอปัญหาเต็มที่ก็จะไม่หนีออกจากบ้านหรอก ต้องเต็มที่ในเรื่องความรุนแรงหรือเต็มที่ในเรื่องที่เขาไม่มีความสุข เขาแย่แล้วเขาจึงต้องออกมาเร่ร่อน  เพราะฉะนั้นเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงเป็นจิตวิทยาด้านลบทั้งนั้น  ครูจึงมีหน้าที่จะต้องเติมเต็มจิตวิทยาเชิงบวกให้แก่เด็ก เพื่อให้สมดุล ให้เปลี่ยนผ่านจาก ความน่ากลัว Terrible ให้เป็น ความสุข Happyness ให้ได้ ซึ่งไม่ใช่งานง่ายๆสำหรับเด็กที่แย่มาตลอดชีวิต กว่าจะเชื่อใครสักคน แล้วเราพาเขาไปในทางที่ถูกต้อง


อีกประเด็นที่พวกเราจะต้องช่วยกันคือเวลาเจอเคสเด็กเร่ร่อนเหล่านี้ คือ  การเก็บข้อมูลให้เป็นแฟ้มหรือเป็นแผ่นกระดาษ 
A4 แล้วเก็บเป็นเคส ๆ  ไปลงพื้นที่เมื่อไร เจอเหตุการณ์อะไรให้จดบันทึกไว้  เพราะฉะนั้นหลักง่าย ๆ ของการทำเคสพวกนี้คือต้องทำให้เป็น  สามเหลี่ยมแห่งความน่าเชื่อถือ  Triangular Method  ด้านหนึ่งดูเรื่องการสังเกตุ  ด้านหนึ่งคือการสัมภาษณ์การพูดคุย และอีกด้านคือการทำเอกสาร ถ้าครูได้ Triangular ตัวข้อมูลของเด็กคนนั้น ๆ  ข้อมูลนั้นจะน่าเชื่อถือ และพอครูได้เก็บเคสเยอะ ๆ ขึ้นก็จะเริ่มถอดเป็นหลักการ ถอดเป็นทฤษฏี ถอดเป็นองค์ความรู้   เคสที่เก็บ ๆ มามีชีวิตมาก แต่ถ้าเราเก็บหรือสรุปข้อมูลเหล่านี้ไม่เป็น   มันก็จะเป็นข้อมูลที่เอาไว้พูดไว้บรรยายเท่านั้น แต่เวลาเรานำเสนอกับรัฐ กับผู้กำหนดนโยบาย เช่น กศน.อะไรต่าง ๆ จะต้องสรุปและนำออกมาให้ได้เป็นก้อนขององค์ความรู้ เป็นข้อค้นพบว่าขณะนี้สังคมไทยมีความเคลื่อนไหวแบบนี้  มีเด็กจำนวนแค่นี้ หลักการ องค์ความรู้ ข้อค้นพบ ตัวที่เป็นสาระ และแก่นจริง ๆ ของเด็กเร่ร่อนมันคืออะไร เพราะฉะนั้นครูกศน.ซึ่จะมาช่วยเสริมในงานนี้ ก็จะต้องเป็นนักวิชาการด้วยส่วนหนึ่ง และเป็นนักปฏิบัติด้วย เป็นคนลงเคส ลงพื้นที่ ลงอะไรต่าง ๆ จะต้องมีภูมิข้างหลังว่าเวลาลงพื้นที่แต่ละครั้ง  เราจะสังเกตุเด็ก จะสัมภาษณ์อย่างไร เราจะเก็บเอกสารอย่างไร ต้องเก็บออกมาให้เป็นขบวนการ เป็นระบบเกิดขึ้น

ระดับที่ 2 เด็กที่ใช้ชีวิตบนท้องถนนเพราะมีปัญหาชีวิตซับซ้อนกับสถาบันพื้นฐานรอบตัว เช่น ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน  เด็กใช้ชีวิตบนท้องถนนเพราะเป็นส่วนหนึ่งของความรุนแรง   ตัวอย่าง ที่ตำรวจจับเด็กเร่ร่อนกันตรงหัวลำโพงเห็นมั้ย เมื่อก่อนอยู่ตรงที่สาธารณะต่าง ๆ แต่เดี๋ยวนี้เด็กเช่าบ้านรวมกันอยู่ มีห้องแอร์ มีที่อาบน้ำ  พอเวลาเราพูดกับเด็กเร่ร่อนในนิยามเก่าที่อยู่บนท้องถนน   กศน.กทม.บอกมีเด็กเร่ร่อน 8 คน ซึ่งเป็นไปไม่ได้  ครูจิ๋ว มูลนิธิสร้างสรรค์เด็กลงพื้นที่พบว่ามีเด็กเร่ร่อนจำนวนมาก  แต่เขาเชื่อมถนนในชีวิต  และไม่ได้ออกมาเร่ร่อนบนท้องถนนอีกต่อไปแล้ว เขาจะอยู่ร่วมกันในห้อง นอนกับญาติ ปู่ย่าตายายแล้วใช้ถนนเป็นเครื่องมือทำมาหากิน  แต่ตอนนี้ เขารู้แล้วว่าจะใช้ถนนอย่างไรให้เกิดวิถีชีวิต เกิดรายได้ เกิดชีวิตความเป็นอยู่ได้อย่างไร คือบริหารถนนเป็น

ระดับที่ 3 เด็กที่ใช้ชีวิตบนท้องถนนเพราะเป็นส่วนหนึ่งของความรุนแรง มีการรวมกลุ่มเป็นแก๊ง มีอาชีพที่เป็นภัย นำไปสู่การเป็นยุวอาชญากร

 

 

ระบบสังคม วัฒนธรรม วงจรชีวิต และการอยู่รอด

1.การดำรงชีวิตเพื่อการอยู่รอดขั้นพื้นฐาน ของเด็กเร่ร่อนในอดีต

ที่อยู่อาศัย: ใต้สะพาน บ้านร้าง สวนสาธารณะ ป้ายรถเมล์  

อาหาร: กินอาหารตามถังขยะ อาหารเหลือจากร้านอาหาร

อาชีพ: ขอทาน ขายดอกไม้ ล็อตเตอรี่ ขัดร้องเท้า หมากฝรั่ง และอาชีพที่มีความเสี่ยง

2.การตกเป็นเหยื่อและเครื่องมือ การเข้าสู่วงจรการทำงานที่รวดเร็วกว่าเด็กในวัยเดียวกัน การตกเป็น
เครื่องมือการค้าแรงงานเด็กในอาชีพที่มีความเสี่ยง

3.การดำเนินชีวิตที่อันตราย รุนแรงและเป็นภัยต่อสังคม การรวมกลุ่มเป็นแก๊ง มีขาใหญ่ดูแลน้องในกลุ่ม ก่ออาชญากรรม ลักเล็กขโมยน้อย ทำความรุนแรงทางเพศ ค้ายาเสพติด และกระทำการอื่น ๆ ที่ผิดกฎหมาย